วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /…
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แรงและความดัน เวลา 15 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความหนาแน่นของวัตถุ เวลา 2 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่…. ธันวาคม 2552
1. สาระสำคัญ
ความหนาแน่นของวัตถุ คือ มวลของวัตถุ 1 หน่วยปริมาตร ความหนาแน่นเป็นสมบัติอย่างหนึ่งของสาร ซึ่งหาได้จากอัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของสารหรือวัตถุนั้น และมีหน่วยเป็นกิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร (kg /m3) หรือ กรัม / ลูกบาศก์เซนติเมตร(g /cm3)
ดังนั้นหา ความหนาแน่น = มวลของวัตถุ
ปริมาตรของวัตถุ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 นักเรียนบอกความหมายของคำว่าความหนาแน่นได้
2.2 นักเรียนปฏิบัติการทดลองเรื่อง การหาความหนาแน่นของวัตถุได้
2.3 นักเรียนปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

3.สาระการเรียนรู้
ความหนาแน่นของวัตถุ

4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 จัดทำนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม โดยวิธีการนับ 1 2 3 1 2 3 ……
4.2 นำเสนอสื่อโดยการนำ ตัวอย่างสิ่งของต่าง ๆ เช่น ฟองน้ำ ดินน้ำมันให้นักเรียนดูที่หน้าชั้นเรียน แล้วตั้งคำถาม ยกตัวอย่างตะเกียบไม้ กับตะเกียบพลาสติก ถ้วยแก้วกับถ้วยกระดาษ ช้อนพลาสติกกับช้อนโลหะ แล้วตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้
- สิ่งของใดมีความหนาแน่นมากกว่ากัน
- เพราะเหตุใดนักเรียนจึงคิดว่าสิ่งนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าสิ่งอื่น
- ระหว่างตะเกียบไม้ กับตะเกียบพลาสติกนักเรียนคิดว่าสิ่งใดมีความหนาแน่น
มากกว่ากัน
- ระหว่างถ้วยแก้วกับถ้วยกระดาษนักเรียนคิดว่าสิ่งใดมีความหนาแน่น
มากกว่ากัน
- ระหว่างช้อนพลาสติกกับช้อนโลหะนักเรียนคิดว่าสิ่งใดมีความหนาแน่น
มากกว่ากัน
4.3 ครูเล่านิทานเรื่อง มงกุฎทองคำ ครูอธิบายความหมายของคำว่า ความหนาแน่น ให้นักเรียนฟัง แจกใบความรู้ เรื่องความหนาแน่นของวัตถุ ให้นักเรียนศึกษา และ ให้นักเรียนจดบันทึกความหมายคำว่าความหนาแน่น ลงสมุด ครูทบทวนคำว่าความหนาแน่น โดยการสุ่มถามโดยการจับสลาก
4.4 ครูอธิบายการปฏิบัติการทดลอง โดยอธิบาย อุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์ การอ่านค่าของปริมาตรจากกระบอกตวงและอธิบายวิธีการทดลอง แล้วให้นักเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การหาความหนาแน่นของวัตถุ
4.5 นักเรียนปฏิบัติการทดลองที่กำหนด โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันปฏิบัติการทดลอง แล้วบันทึกลงในใบกำหนดงานที่ 1 เรื่อง การหาความหนาแน่นของวัตถุ


ใบกำหนดงานที่ 1
เรื่อง การหาความหนาแน่นของวัตถุ
จุดประสงค์ ทดลองและหาค่าความหนาแน่นของวัตถุได้
อุปกรณ์ 1. เครื่องชั่งสปริง 2. ถ้วยยูเรก้า
3. ก้อนหิน 4. กระบอกตวง
5. เชือก 6. วัตถุที่นักเรียนเตรียมมา
วิธีการทดลอง
ตอนที่ 1 หามวลของก้อนหิน
1. ใช้เชือกผูกก้อนหินแล้วแขวนกับเครื่องชั่งสปริง
2. อ่านค่ามวลของก้อนหิน บันทึกผล
ตอนที่ 2 หาปริมาตรของก้อนหิน
1. ใส่น้ำลงในถ้วยยูเรก้าจนเต็ม แล้วนำกระบอกตวงมารองรับน้ำที่ปากถ้วยยูเรก้า
2. หย่อนก้อนหินลงในถ้วยยูเรก้า น้ำจะล้นออกมาจากถ้วยยูเรก้า ไหลลงสู่กระบอกตวง
3. อ่านค่าปริมาตรน้ำจากกระบอกตวง บันทึกผล
ตอนที่ 3 หาความหนาแน่นของก้อนหิน
ใช้ค่ามวลและค่าปริมาตรจากตอนที่ 1 และตอนที่ 2 แทนค่าในสูตรแสดงความสัมพันธ์เพื่อคำนวณค่าความหนาแน่น ดังนี้
ความหนาแน่น = มวลของวัตถุ
ปริมาตรของวัตถุ
บันทึกผล

วัตถุ
ค่ามวล
(กรัม)
ค่าปริมาตร
(ลบ.ซม.)
ค่าความหนาแน่น
(ก. / ลบ.ซม.)
1.



2.



3.



สรุปผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………......……………………………………………………………………………………….......……………………………………………………………………………………….......
.........................................................................................................



















4.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียน ส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทดลองเรื่องการหาความหนาแน่นของวัตถุ ที่หน้าชั้นเรียน ให้เพื่อน ๆ อีก 2 กลุ่มฟัง
4.7 ฝึก ทำแบบฝึกหัด เรื่อง ฝึกคำนวณหาความหนาแน่นของวัตถุ ทำเป็นรายบุคคลลงในใบกำหนดงานที่ 3


ใบกำหนดงานที่ 2
แบบฝึกหัด เรื่อง ฝึกคำนวณหาความหนาแน่นของวัตถุ
ตัวอย่างการคำนวณ
วัตถุก้อนหนึ่งมีมวล 30 กรัม มีปริมาตร 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีความหนาแน่นเท่าไร
วัตถุก้อนหนึ่งมีมวล = 30 กรัม
มีปริมาตร = 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
วัตถุมีความหนาแน่น = 30
10
= 3 กรัม / ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ วัตถุมีความหนาแน่น 3 กรัม / ลูกบาศก์เซนติเมตร
--------------------------------------------

คำสั่ง ให้นักเรียนแสดงวิธีการฝึกคำนวณหาความหนาแน่นของวัตถุให้ถูกต้อง

1. แท่งไม้ของเด็กชายภูวดลมีมวล 20 กรัม มีปริมาตร 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร แท่งไม้ของเด็กชายภูวดลมีความหนาแน่นเท่าไร
2. ก้อนหินของเด็กชายชนาธิปมีมวล 250 กรัม มีปริมาตร 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีความหนาแน่นเท่าไร
3. ทองคำขาวมีมวล 96 กรัม มีปริมาตร 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทองคำขาวมีความหนาแน่นเท่าไร
4. ยางลบของเด็กชายธรรมทัต มีมวล 50 กรัม มีปริมาตร 0.2 ลูกบาศก์เซนติเมตร ยางลบของเด็กชายธรรมทัต มีความหนาแน่นเท่าไร
5. เหรียญของเด็กหญิงสุพรรษา มีมวล 500 กรัม มีปริมาตร 25 ลูกบาศก์เซนติเมตรเหรียญของเด็กหญิงสุพรรษามีความหนาแน่นเท่าไร
















4.8 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป ผลการปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การหาความหนาแน่นของวัตถุ ประเมินผล สรุปผลและเพิ่มเติมเนื้อหา

5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างสิ่งของต่าง ๆ เช่น ฟองน้ำ ดินน้ำมันรูปสี่เหลี่ยม
2. เครื่องชั่งสปริง
3. ก้อนหิน หรือวัตถุต่าง ๆ ที่นักเรียนเตรียมมา เช่น เหรียญบาท ยางลบ
4. ถุงหูหิ้วพลาสติก
5. ใบความรู้ เรื่อง ความหนาแน่นของวัตถุ
6. ใบกำหนดงานที่ 1 เรื่อง การหาความหนาแน่นของวัตถุ
7. ใบกำหนดงานที่ 2 แบบฝึกหัด เรื่อง ฝึกคำนวณหาความหนาแน่นของวัตถุ
8. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.5

6. การวัดผล
1.วัดผลการบอกความหมายของคำว่าความหนาแน่น โดยตรวจผลการเขียนบอกความหมายของคำว่าความหนาแน่น ลงในสมุดบันทึกและการตอบคำถามเป็นรายบุคคล โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
2. วัดผลการปฏิบัติการทดลองเรื่อง การหาความหนาแน่นของวัตถุโดยตรวจผลการปฏิบัติการทดลองเรื่องการหาความหนาแน่นของวัตถุ ในใบกำหนดงาน โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
3. วัดผลการปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการให้คะแนนการสังเกต การวัด การวิเคราะห์ การสื่อสาร ตามแบบฟอร์มที่จัดทำ

7. การประเมินผล
1. ประเมินผลการบอกความหมายของคำว่าความหนาแน่น พบว่านักเรียน.........คน บอกความหมายของคำว่าความหนาแน่น ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านใบความรู้เรื่องความหนาแน่นของวัตถุเพิ่มเติม แล้วเขียนสรุปมาส่งคาบต่อไป
2. ประเมินผลปฏิบัติการทดลองเรื่องการหาความหนาแน่นของวัตถุ พบว่านักเรียน.........คน ปฏิบัติการทดลองเรื่องการหาความหนาแน่นของวัตถุ ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้มาปฏิบัติการทดลองให้ดูหลังเลิกเรียน
3. ประเมินผลตามเกณฑ์การประเมิน

8. บันทึกหลังสอน
…………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………